

พิพิธภัณฑ์ภูเก็ดไทยหัวจัดตั้งขึ้นเพื่อแสดงประวัติศาสตร์เรื่องราวของข้าวจีนโพ้นทะเลที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานยังเกาะแห่งนี้ มีเรื่องราว การก่อร่างสร้างตัว ประเพณีวิถีชน อาชีพและภูมิปัญญา โดยเฉพาะประวัดิโรงเรียนจีนที่เก่าแก่ที่สุดของภูเก็ต ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาและพัฒนาการของเมืองสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ก็เพื่อให้อาคารโรงเรียนเก่าหลังนี้ดำรงความเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น รวมทั้งให้ชาวภูเก็ตได้ภาคภูมิใจและมีส่วนร่วมกันรักษาไว้เป็นสมบัติของส่วนรวมต่อไป
Read More

พิพิธภัณฑ์ ภูเก็ตไทยหัว
คำว่า “ไทยหัว” หมายถึง ไทยกับจีน
ส่วนที่มาของสัญลักษณ์ “ค้างคาวแดง” ที่ ประดับอยู่หน้าจั่วอาคารพิพิธภัณฑ์นั้น มาจากคำภาษา จีน คำว่า “หุง เขียน ฝู” แปลว่า ค้างคาวแดง “หุง” แปลว่า สีแดง ซึ่งคำพ้องเสียงของคำนี้ในภาษาจีน หมายถึง ความยิ่งใหญ่ “ปู” เป็นชื่อเรียกค้างคาว มีคำ พ้องเสียงที่หมายถึง ความโชคดี เนื่องจากอาคารนี้เป็น โรงเรียน รูปค้างคาวที่กำลังกางปีกก็เปรียบเสมือนการ เปิดหนังสือ หมายถึงการมีโอกาสได้เรียนหนังสือ หรือ การรู้หนังสือเปรียบเหมือนโชคอันยิ่งใหญ่นั่นเอง
ครั้งหนึ่งในอดีต เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เคยเสด็จฯ โรงเรียนภูเก็ตทั่วปุ่น ดังนั้น สถานที่แห่งนี้จึงนับเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดภูเก็ต
อาคารโรงเรียนภูเก็ตไทยหัว 2477 ถนน กระบี่ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนพิเศษ 119 ง เมื่อ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2545

on view
“อาคารหลังนี้เปรียบเสมือนต้นไม้ที่ผ่าน กาลเวลาอันยาวนาน แต่สิ่งที่ยังคงอยู่เสมอและไม่ เปลี่ยนแปลง คือรหัสพันธุกรรมที่ซ่อนอยู่ภายในอาคาร หลังนี้ จากอดีตที่ได้ผ่านวิวัฒนาการจนถึงปัจจุบัน ได้แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของตัวตนและ ความละเอียดอ่อนทางสุนทรียะ ที่ได้รับอิทธิพลทาง วัฒนธรรมของท้องถิ่นซึ่งได้หล่อหลอมจากถิ่นทำเลอัน อุดมสมบูรณ์ด้วยเงื่อนไขแวดล้อมจากภูมิศาสตร์ที่มี ทะเลล้อมรอบ แก่นแท้ของชีวิตคือการอยู่ร่วมกันกับ ธรรมชาติ งดงามและดำเนินวิถีชีวิตอย่างสงบอยู่บน พื้นฐานแห่งความสมถะ ประหยัด มัธยัสถ์ รู้รักสามัคคี เอื้อเฟื้อ และแบ่งปัน โดยไม่รบกวนหรือสร้างความ เดือดร้อนให้กับผู้อื่น ให้ทุกคนที่มีโอกาสได้เข้ามาหรือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาคารหลังนี้บังเกิดความรู้สึก อบอุ่นและสุขใจ”